วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ข้อสอบคอมพิวเตอร์ O-Net 2553 พร้อมเฉลย

1. การหาสินค้าและบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่าอะไร
 1. E-Payment
 2. E-Learning
 3. E-Sourcing
 4. E-News

2. ข้อใดเป็นจำนวนเลขฐานสองซึ่งมีค่าเท่ากับ 108 (ซึ่งเป็นเลขฐานสิบ)
1. 00100100
2. 01101100
3. 10100000
4. 01101111

3. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
1. Microsoft Windows
2. Ubuntu
3. Symbian
4. MAC Address

4. ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้บนอุปกรณ์พกพาประเภท Smartphone
1. Ubuntu
2. iPhone OS
3. Android
4. Symbian

5. ลิขสิทธิ์โปรแกรมประเภทรหัสเปิด (Open source) อนุญาตให้ผู้ใช้ทำอะไรได้บ้าง
 ก. นำโปรแกรมมาใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
 ข. ทดลองใช้โปรแกรมก่อน ถ้าพอใจจึงจ่ายค่าลิขสิทธิ์
 ค. แก้ไขปรับปรุงโปรแกรมเองได้
 1. ข้อ ก. กับข้อ ค.
 2. ข้อ ข. กับข้อ ค.
 3. ข้อ ข. อย่างเดียว
 4. ข้อ ก. อย่างเดียว

6. ไฟล์ประเภทใดในข้อต่อไปนี้เก็บข้อมูลในลักษณะตัวอักษร
 1. ไฟล์เพลง MP3 (.mp3)
2. ไฟล์รูปประเภท JPEG (.jpg)
 3. ไฟล์แสดงผลหน้าเว็บ (.html)
4. ไฟล์วิดิโอประเภท Movie (.mov)

7. ข้อใดเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเมื่อค้นคว้าหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาทำรายงาน
 1. คัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์
2. ใช้เนื้อหาจากกระดานสนทนา (web board)มาใส่ในรายงาน
 3. นำรูปภาพจากเว็บไซต์มาใส่ในรายงาน
 4. อ้างอิงชื่อผู้เขียนบทความ

8. ห้องสมุดแห่งหนึ่งต้องการพัฒนาระบบการยืมหนังสือโดยสามารถบันทึกข้อมูลการยืมหนังสือลงบนบัตร
อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องเขียนด้วยมือ ระบบนี้ควรใช้เทคโนโลยีในข้อใด
1. Smart Card
2. Fingerprint
3. Barcode
4. Wifi

9. ผู้ประกอบอาชีพผู้พัฒนาเว็บไซต์ต้องเชี่ยวชาญความรู้ด้านใดบ้างจากตัวเลือกต่อไปนี้
 ก. ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ค. เว็บเซิร์ฟเวอร์ จ. ระบบฐานข้อมูล
 ข. ระบบปฏิบัติการ ง. HTML ฉ. ภาษาจาวา (Java)
1. ข้อ ก. และ ค.
2. ข้อ ข. และ จ.
3. ข้อ ค. และ ง.
4. ข้อ ค. และ ฉ.

10. ข้อใดเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อข้อมูลไร้สายทั้งหมด
1. Wifi IP
2. Wifi Bluetooth
3. 3G ADSL


วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Recursion

         recursion ได้รับการสนับสนุนใน PHP ฟังก์ชันชนิดนี้เป็นการเรียกตัวเองและเป็นประโยชน์กับการบังคับโครงสร้างข้อมูลไดนามิคส์ เช่น รายการเชื่อมโยงและโครงสร้างต้นไม้ (tree)
โปรแกรมประยุกต์เว็บจำนวนไม่มากต้องการโครงสร้างข้อมูลซับซ้อนมากและจำกัดการใช้ เนื่องจาก recursion ช้ากว่าและใช้หน่วยความจำมากกว่าการทำงานวนรอบ ดังนั้นควรเลือกการทำงานแบบวนรอบปกติ ถ้าเป็นไปได้

ตัวอย่างการประยุกต์แบบย้อนกลับตัวอักษร
<?php
function word_reverse_r($str)
{
if (strlen($str)>0)
    word_reverse_r(substr($str, 1));

echo substr($str, 0, 1);
return;
}
function word_reverse_i($str)
{
for ($i=1; $i<=strlen($str); $i++)
{

echo substr($str, -$i, 1);
}
return;
}
?>
        รายการคำสั่งของ 2 ฟังก์ชันนี้จะพิมพ์ข้อความย้อนกลับ ฟังก์ชัน word_reverse_r เป็น recursion ฟังก์ชัน word_reverse_i เป็นการวนรอบ
ฟังก์ชัน word_reverse_r ใช้ข้อความเป็นพารามิเตอร์ เมื่อมีการเรียกฟังก์ชันนี้ จะเกิดการเรียกตัวเองแต่ละครั้งส่งผ่านตัวอักษรที่ 2 ไปถึงตัวอักษรสุดท้าย
การเรียกฟังก์ชันแต่ละครั้งจะทำสำเนาใหม่ของคำสั่งในหน่วยความจำของแม่ข่าย แต่ด้วยพารามิเตอร์ต่างกัน ดังนั้นจึงเหมือนกับการเรียกคนละฟังก์ชัน

การส่งออกค่าจากฟังก์ชัน(The return value from the function)

       การส่งค่าออกจากฟังก์ชันใช้คีย์เวิร์ด return เช่นเดียวกับการออกจากฟังก์ชันได้ ถ้าไม่มีการระบุส่งออกฟังก์ชันจะส่งค่า NULL

ตัวอย่าง ฟังก์ชัน get_larger () สาธิตการส่งออกค่า
<?
function get_larger($x=NULL, $y=NULL)
{
if (!isset($x) || !isset($y))
    return " ไม่มีการส่งค่า" ;
if ($x > $y)
    return $x;
else if ($x < $y)
    return $y;
else
    return " ค่าเท่ากัน" ;
}
$sends = array();
$sends[0] = array('x' =>5);
$sends[1] = array('x' =>9, 'y'=>3);
$sends[2] = array('x' =>5, 'y'=>8);
$sends[3] = array('x' =>4, 'y'=>4);
foreach ($sends as $send)
{
echo "x = ".$send['x']." y = ".$send['y']." : ค่า - > "
.get_larger($send['x'], $send['y']);
echo "<br/>\n";
}
?>
ผลลัพธ์
x = 5 y = : ค่า - > ไม่มีการส่งค่า
x = 9 y = 3 : ค่า - > 9
x = 5 y = 8 : ค่า - > 8
x = 4 y = 4 : ค่า - > ค่าเท่ากัน
      ฟังก์ชันที่ทำงานอาจเดียว แต่ไม่จำเป็นต้องส่งออกค่า มักจะส่งออก TRUE หรือ FALSE เพื่อระบุความสำเร็จหรือล้มเหลว ค่า TRUE หรือ FALSE สามารถได้รับการแสดงแทนด้วย 1 หรือ 0

ตัวแปรระดับต่างๆ(Variable levels)

ตัวแปรระดับฟังก์ชัน

    ตัวแปรระดับฟังก์ชันหรือ local variable เป็นการประกาศเพื่อใช้เฉพาะภายในฟังก์ชัน ไม่สามารถเรียกจากภายนอกฟังก์ชันได้
<?php
$newline = <<<NLSTRING
<br/>\n
NLSTRING;
$var_global = 10 ;
function show_value()
{
global $newline;
$var_local= 75 ;
echo "\$var_local 1: $var_local";
echo $newline;
}
show_value();
echo "\$var_global : $var_global";
echo $newline;
echo "\$var_local 2: $var_local";
echo $newline;
?>
ผลลัพธ์
$var_global 1 :
$var_local 1: 75
$var_global 2: 10
$var_local 2:
ตามตัวอย่างนี้ ตัวแปรระดับฟังก์ชัน $var_local ไม่สามารถแสดงผลในการพิมพ์ภายนอกฟังก์ชัน show_value() และ $var_global ที่เป็นตัวแปรระดับ global ไม่สามารถแสดงผลภายใน show_value() เพราะมี scope ต่างกัน

ตัวแปรระดับ global

    ถ้าต้องการนำตัวแปรระดับ global มาใช้ภายในฟังก์ชันต้องประกาศด้วยคีย์เวิร์ด global ก่อนประโยคคำสั่งที่ใช้ตัวแปรนั้น ตัวอย่าง ฟังก์ชัน show_value() ใช้ $newline จากภายนอกฟังก์ชัน
global $newline;

ตัวแปรสถิตย์

    การประกาศตัวแปรสถิตย์ใช้ คีย์เวิร์ด static เมื่อมีการเรียกใช้ฟังก์ชัน โปรแกรมจะกำหนดค่าตัวแปรตามที่ระบุเพียงครั้งเดียว ถ้าเรียกซ้ำอย่างต่อเนื่องค่านี้จะเปลี่ยนแปลงตามการคำนวณ
<?php
function increment()
{
static $increase = 5 ;
$increase++;
echo $increase."<br/>\n";
}
$end = 5 ;
for ($i = 1 ; $i < $end; $i++)
    increment();
?>
ผลลัพธ์
6
7
8
9
ค่าของตัวแปรสถิตย์ได้รับการตั้งทุกครั้งเมื่อเรียกใช้ในครั้งต่อไป

Scope

          เมื่อต้องการใช้ตัวแปรภายในไฟล์ที่รวม ต้องมีการประกาศตัวแปรเหล่านั้นก่อนประโยคคำสั่ง require () หรือ include () แต่เมื่อใช้ฟังก์ชันจะเป็นการส่งผ่านตัวแปรเชิงประจักษ์เหล่านั้นไปยังฟังก์ชัน บางส่วนเป็นเพราะไม่มีกลไกส่งผ่านตัวแปรเชิงประจักษ์ไปยังไฟล์ที่รวม และบางส่วนเป็นเพราะ scope ของตัวแปรของฟังก์ชันแตกต่างกัน
การควบคุม scope ของตัวแปรเป็นการทำให้ตัวแปรมองเห็นได้ ใน PHP มีกฎตั้งค่า scope ดังนี้
  • การประกาศตัวแปรภายในฟังก์ชันอยู่ใน scope จากประโยคคำสั่งซึ่งตัวแปรให้รับการประกาศภายในวงเล็บปีกกา สิ่งนี้เรียกว่า function scope ตัวแปรเรียกว่า local variable
  • การประกาศตัวแปรภายนอกฟังก์ชันอยู่ใน scope จากประโยคคำสั่งซึ่งตัวแปรได้รับการประกาศที่สิ้นสุดแต่ไม่ใช้ภายในฟังก์ชัน สิ่งนี้เรียกว่า global scope ตัวแปรเรียกว่า global variable
  • การใช้ประโยคคำสั่ง require () และ include () ไม่มีผลกับ scope ถ้าประโยคคำสั่งได้รับการใช้ภายในฟังก์ชัน ประยุกต์ด้วย function scope ถ้าไม่ได้อยู่ภายในฟังก์ชัน ประยุกต์ด้วย global scope
  • คีย์เวิร์ด global สามารถระบุได้เองเพื่อกำหนดหรือใช้ตัวแปรภายในฟังก์ชันให้มี scope เป็น global
  • ตัวแปร สามารถลบโดยการเรียก unset ($variable_name) และตัวแปรที่ unset จะไม่มี scope
  • ตัวแปรระดับ superglobal สามารถเข้าถึงได้ทุกส่วนในสคริปต์

จำนวนตัวแปรของพารามิเตอร์(Variable number of parameters)

         การส่งผ่านพารามิเตอร์ไปยังฟังก์ชันนั้น การควบคุมของ PHP ได้กำหนดฟังก์ชันจำนวนหนึ่งให้ยอมรับจำนวนตัวแปรของพารามิเตอร์ ได้แก่ func_num_args, func_get_arg และ func_get_args
func_num_args() บอกจำนวนพารามิเตอร์ไปยังฟังก์ชันที่เรียก func_get_arg() แสดงค่าของพารามิเตอร์ตามดัชนี และ func_get_args() ส่งออก array ของพารามิเตอร์
<?php
function show_pass_value()
{
$idx = count(func_get_args());
echo " จำนวนพารามิเตอร์ $idx <br/>\n";

if ($idx > 0)
    echo ">> ใช้ฟังก์ชัน func_get_arg<br/>\n";

for ($i = 0 ; $i < $idx; $i++)
{

echo " พารามิเตอร์ที่ $i ค่า: ". func_get_arg($i)."<br/>\n";
}
if ($idx > 0)
    echo ">> ใช้ฟังก์ชัน func_get_args<br/>\n";

$params = func_get_args();
foreach ($params as $index => $val)
{

echo " พารามิเตอร์ที่ $index ค่า: $val<br/>\n";
}
echo " *********<br/>\n";
}
$x = 4 ;
show_pass_value("one", "two", 3 , $x, " ห้า" , " หก") ;
show_pass_value();
?>
ผลลัพธ์
จำนวนพารามิเตอร์ 6
>> ใช้ฟังก์ชัน func_get_arg
พารามิเตอร์ที่ 0 ค่า: one
พารามิเตอร์ที่ 1 ค่า: two
พารามิเตอร์ที่ 2 ค่า: 3
พารามิเตอร์ที่ 3 ค่า: 4
พารามิเตอร์ที่ 4 ค่า: ห้า
พารามิเตอร์ที่ 5 ค่า: หก
>> ใช้ฟังก์ชัน func_get_args
พารามิเตอร์ที่ 0 ค่า: one
พารามิเตอร์ที่ 1 ค่า: two
พารามิเตอร์ที่ 2 ค่า: 3
พารามิเตอร์ที่ 3 ค่า: 4
พารามิเตอร์ที่ 4 ค่า: ห้า
พารามิเตอร์ที่ 5 ค่า: หก
*********
จำนวนพารามิเตอร์ 0
*********

พารามิเตอร์(Parameters)

          ตามปกติฟังก์ชันส่วนใหญ่ต้องการรับสารสนเทศจากผู้เรียกสำหรับการประมวลผล โดยทั่วไปเรียกว่า พารามิเตอร์

ไวยากรณ์พื้นฐาน

การกำหนดฟังก์ให้รับพารามิเตอร์ส่งผ่านโดยการวางข้อมูล ชื่อตัวแปรที่เก็บข้อมูลภายในวงเล็บหลังชื่อฟังก์ชัน การเรียกฟังก์ชันที่ประกอบด้วยพารามิเตอร์เขียนดังนี้
<?php
function show_parameter($param1, $param2, $param3)
{
echo <<<PARAM
รายการพารามิเตอร์ <br/>
param1: $param1 <br/>
param2: $param2 <br/>
param3: $param3 <br/>
PARAM;
}
?>
พารามิเตอร์ที่ส่งไปยังฟังก์ชันแยกกันเครื่องหมายจุลภาคภายในวงเล็บ โดยสามารถส่งเป็นนิพจน์สำหรับแต่ละพารามิเตอร์ด้วย ตัวแปร ค่าคงที่ ผลลัพธ์จากการคำนวณ รวมถึงการเรียกฟังก์ชัน
scope ของพารามิเตอร์จำกัดภายในฟังก์ชัน ถ้าชื่อตัวแปรเหมือนกับตัวแปรใน scope ระดับอื่น พารามิเตอร์นี้ "ระบุ" เป็นตัวแปรภายในที่ไม่มีผลกับตัวแปรภายนอกฟังก์ชัน

การส่งผ่านโดยค่า(By Value)

ตามปกติการส่งผ่านพารามิเตอร์ไปยังฟังก์ชันเป็นการส่งผ่านค่า การเปลี่ยนแปลงจะจำกัดภายในเฉพาะภายในฟังก์ชัน
ตัวอย่างฟังก์ชัน new_value () ที่ยอมให้เพิ่มค่า อาจจะเขียนคำสั่งดังนี้
<?php
function new_value($value, $increment= 1)
{
$value = $value + $increment;
}
$value = 10 ;
new_value($value);
echo "$value<br/>\n";
?>
คำสั่งนี้ใช้ไม่ได้ ผลลัพธ์จะเป็น "10" ค่าใหม่ของ $value ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
สิ่งนี้เป็นเพราะกฎ scope คำสั่งนี้สร้างตัวแปรเรียกว่า $value เป็น 10 เมื่อเรียกฟังก์ชัน new_value () ตัวแปร $value ในฟังก์ชันได้รับการสร้างเมื่อเรียกฟังก์ชัน ค่า 1 ได้รับการเพิ่มให้กับตัวแปร ดังนั้นค่าของ $value คือ 11 ภายในฟังก์ชัน จนกระทั่งสิ้นสุดฟังก์ชัน แล้วกลับไปยังคำสั่งที่เรียกภายในคำสั่งนี้ ตัวแปร $value เป็นอีกตัวแปร global scope และไม่มีการเปลี่ยนแปลง

การส่งผ่านโดยการอ้างอิง (By Reference)

ตามตัวอย่างฟังก์ชัน new_value ถ้าต้องการให้ฟังก์ชันเปลี่ยนแปลงค่าได้ มีวิธีหนึ่งในการแก้ไขคือ ประกาศ $value ในฟังก์ชันเป็น global แต่หมายความว่าในการใช้ฟังก์ชันนี้ ตัวแปรที่ต้องการเพิ่มค่าต้องตั้งชื่อเป็น $value แต่มีวิธีดีกว่าคือ ใช้การส่งผ่านโดยการอ้างอิง
การอ้างอิงไปตัวแปรต้นทางแทนที่มีค่าของตัวเอง การปรับปรุงไปยังการอ้างอิงจะมีผลกับตัวแปรต้นทางด้วย
การระบุพารามิเตอร์ที่ใช้การส่งผ่านโดยการอ้างอิงให้วาง ampersand (&) หน้าชื่อพารามิเตอร์ในข้อกำหนดฟังก์ชัน
ตัวอย่าง new_value () ได้รับปรับปรุงให้มี 1 พารามิเตอร์ส่งผ่านโดยการอ้างอิงและทำงานได้อย่างถูกต้อง
<?php
function new_value(&$value, $increment=1)
{
$value = $value + $increment;
}
?>

การเรียกฟังก์ชัน(Call Functions)

         เมื่อฟังก์ชันได้รับการประกาศหรือสร้างขึ้นแล้ว การเรียกฟังก์ชันสามารถเรียกมาจากที่ใดๆ ภายในสคริปต์ หรือ จากไฟล์ที่มีการรวมด้วยประโยคคำสั่ง include() หรือ require()
         ตัวอย่าง ฟังก์ชัน show_message() เก็บอยู่ในไฟล์ fn_ 03 _keeper.php ส่วนผู้เรียกอยู่ในสคริปต์ fn_ 03 _caller.php
<?php
include("fn_ 03 _keeper.php");
show_message();
?>

การหยุดประมวลผลภายในฟังก์ชัน(Stop processing functions)

          คีย์เวิร์ด return หยุดการประมวลผลฟังก์ชัน ฟังก์ชันสิ้นสุดได้เพราะประโยคคำสั่งทั้งหมดได้รับการประมวลผล หรือ ใช้คีย์เวิร์ด return การประมวลผลกลับไปยังประโยคคำสั่งต่อจากการเรียกฟังก์ชัน
<?php
function division($x, $y)
{
if ($y == 0 || !isset($y))
{

echo " ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า" ;
return;
}
$result = $x / $y;
echo $result;
}
?>
          ถ้าประโยคคำสั่ง return ได้รับการประมวลผล บรรทัดคำสั่งต่อไปในฟังก์ชันจะถูกข้ามไป และกลับไปยังผู้เรียกฟังก์ชันนี้ ในฟังก์ชันนี้ ถ้า y เป็น 0 จะหยุดการประมวลผล ถ้า y ไม่เท่ากับ 0 จะคำนวณผลหาร
สมมติป้อนค่าเป็น
x = 4, y = 0
x = 4
x = 4, y = 2
ผลลัพธ์ของคำสั่ง คือ
x = 4, y = 0 ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = 2 ผลลัพธ์ 2

การตั้งชื่อฟังก์ชัน(Name Functions)

          สิ่งสำคัญมากในการพิจารณาเมื่อตั้งชื่อฟังก์ชันคือชื่อต้องสั้นแต่มีความหมาย ถ้าฟังก์ชันสร้างส่วนตัวของเพจควรตั้งชื่อเป็น pageheader () หรือ page_header ()
ข้อจำกัดในการตั้งชื่อคือ
  • ฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกับฟังก์ชันที่มีอยู่
  • ชื่อฟังก์ชันสามารถมีได้เพียงตัวอักษรตัวเลข และ underscore
  • ชื่อฟังก์ชันไม่สามารถเริ่มต้นด้วยตัวเลข
          หลายภาษายอมให้ใช้ชื่อฟังก์ชันได้อีก ส่วนการทำงานนี้เรียกว่า function overload อย่างไรก็ตาม PHP ไม่สนับสนุน function overload ดังนั้นฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกันกับฟังก์ชันภายใน หรือฟังก์ชันกำหนดเองที่มีอยู่
หมายเหตุ ถึงแม้ว่าทุกสคริปต์ PHP รู้จักฟังก์ชันภายในทั้งหมด ฟังก์ชันกำหนดเองอยู่เฉพาะในสคริปต์ที่ประกาศสิ่งนี้หมายความว่า ชื่อฟังก์ชันสามารถใช้ในคนละไฟล์แต่อาจจะไปสู่ความสับสน และควรหลีกเลียง
ชื่อฟังก์ชันต่อไปนี้ถูกต้อง
name ()
name2 ()
name_three ()
_namefour ()
ชื่อไม่ถูกต้อง
5name ()
Name-six ()
fopen ()
          การเรียกฟังก์ชันไม่มีผลจากชนิดตัวพิมพ์ ดังนั้นการเรียก function_name (), Function_Name() หรือ FUNCTION_NAME() สามารถทำได้และมีผลลัพธ์เหมือนกัน แต่แบบแผนการกำหนดชื่อฟังก์ชันใน PHP ให้ใช้ตัวพิมพ์เล็ก
          ชื่อฟังก์ชันแตกต่างจากชื่อตัวแปร โดยชื่อตัวแปรเป็นชนิดตัวพิมพ์มีผล ดังนั้น $Name และ $name เป็น 2 ตัวแปร แต่ Name () และ name () เป็นฟังก์ชันเดียวกัน

การกำหนดฟังก์ชันและการเรียกฟังก์ชัน(Functions Specification and Call Functions)

          การประกาศฟังก์ชันเริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ด function กำหนดชื่อฟังก์ชัน พารามิเตอร์ที่ต้องการ และเก็บคำสั่งที่จะประมวลผลแต่ละครั้งเมื่อเรียกฟังก์ชันนี้

<?php
function function_name(parameter1,…)
{
ชุดคำสั่ง …
}
?>
          ชุดคำสั่งต้องเริ่มต้นและสิ้นสุดในวงเล็บปีกกา ({ }) ตัวอย่างฟังก์ชัน my_function
<?php
function my_function()
{
$mystring =<<<BODYSTRING
my function ได้รับการเรียก
BODYSTRING;
echo $mystring;
}
?>
          การประกาศฟังก์ชันนี้ เริ่มต้นด้วย function ดังนั้นผู้อ่านและตัวกระจาย PHP ทราบว่าต่อไปเป็นฟังก์ชันกำหนดเอง ชื่อฟังก์ชันคือ my_function การเรียกฟังก์ชันนี้ใช้ประโยคคำสั่งนี้
my_function ();
การเรียกฟังก์ชันนี้จะให้ผลลัพธ์เป็นข้อความ "my function ได้รับการเรียก " บน browser

ฟังก์ชันใน PHP(Functions PHP)

          ฟังก์ชันในโปรแกรมส่วนใหญ่ได้รับการเรียกคำสั่งเพื่อทำงานอย่างเดียว สิ่งนี้ทำให้คำสั่งอ่านได้ง่ายและยอมให้ใช้คำสั่งใหม่แต่ละครั้งเมื่อต้องการทำงานเดียวกัน

          ฟังก์ชันเป็นโมดูลเก็บคำสั่งที่กำหนดการเรียกอินเตอร์เฟซ ทำงานเดียวกัน และตัวเลือกส่งออกค่าจากการเรียกฟังก์ชัน คำสั่งต่อไปเป็นการเรียกฟังก์ชันอย่างง่าย
my_function ();

          คำสั่งเรียกฟังก์ชันชื่อ my_function ที่ไม่ต้องการพารามิเตอร์ และไม่สนใจค่าที่อาจจะส่งออกโดยฟังก์ชันนี้

          ฟังก์ชันจำนวนมากได้รับการเรียกด้วยวิธีนี้ เช่น ฟังก์ชัน phpinfo () สำหรับแสดงเวอร์ชันติดตั้งของ PHP สารสนเทศเกี่ยวกับ PHP การตั้งค่าแม่ข่ายเว็บ ค่าต่างๆ ของ PHP และตัวแปร ฟังก์ชันนี้ไม่ใช้พารามิเตอร์และโดยทั่วไปไม่สนใจค่าส่งออก ดังนั้นการเรียก phpinfo () จะประกอบขึ้นดังนี้
phpinfo ();

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบฐานข้อมูล (Database System)

สถาปัตยกรรม

       สถาปัตยกรรมฐานข้อมูล ประกอบด้วย 3 ระดับ คือ ระดับภายนอก, ระดับแนวคิด และ ระดับภายใน โดยทั้ง 3 ระดับ จะถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยชัดเจน ซึ่งทั้ง 3 ระดับเป็นลักษณะสำคัญหลักๆ ของแบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ที่นิยมนำมาใช้กับฐานข้อมูลในยุคศตวรรษที่ 21

       ระดับภายนอก คือ การบอกผู้ใช้ให้เข้าใจว่าจะจัดการข้อมูลได้อย่างไร โดยในฐานข้อมูลหนึ่งๆ สามารถมีจำนวนวิวที่ระดับภายในกี่วิวก็ได้ ระดับภายใน คือ การที่ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในที่จัดเก็บข้อมูลเชิงกายภาพและประมวลผลโดยระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร สถาปัตยกรรมภายในจะมีเกี่ยวข้องกับ ต้นทุน, ประสิทธิภาพ, การขยายขนาดของงาน และ ปัจจัยในการดำเนินการอื่นๆ ระดับแนวคิด คือ ระดับที่อยู่ระหว่างระดับภายในและระดับภายนอก โดยจะต้องจัดเตรียมวิวของฐานของมูลให้ไม่ซับซ้อน โดยจะมีรายละเอียดว่าจะจัดเก็บหรือจัดการข้อมูลอย่างไร, และสามารถรวมระดับภายนอกที่หลากหลายต่างๆ ให้สอดคล้องเข้าไว้ด้วยกัน

ระบบจัดการฐานข้อมูล
        ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล, จัดเตรียมพื้นที่ในการเก็บ, การเข้าถึง, ระบบรักษาความปลอดภัย, สำรองข้อมูล และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ระบบจัดการฐานข้อมูลสามารถแบ่งหมวดหมู่ได้ตามแบบจำลองฐานข้อมูลที่สนับสนุน อาทิเช่น เชิงสัมพันธ์ หรือ XML เป็นต้น แบ่งตามประเภทของคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุน อาทิเช่น server cluster หรือ โทรศัพท์พกพา เป็นต้น แบ่งตามประภทของภาษาสอบถามที่ใช้ในการเข้าถึงฐานข้อมูล อาทิเช่น ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง หรือ XQuery แบ่งตามประสิทธิภาพในการ trade-offs อาทิเช่น ขนาดที่ใหญ่ที่สุด หรือ ความเร็วสูงสุด หรือ อื่นๆ เป็นต้น ในบาง DBMS จะครอบคลุมมากกว่าหนึ่งหมวดหมู่ เช่น สนับสนุนภาษาสอบถามได้หลายๆ ภาษา ยกตัวอย่างเช่น ใน DBMS ที่นิยมใช้การอย่างแพร่หลาย MySQL, PostgreSQL, Microsoft Access, SQL Server, FileMaker,Oracle,Sybase, dBASE, Clipper,FoxPro อื่นๆ ในทุกๆ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลจะมี Open Database Connectivity (ODBC) driver มาให้ด้วย เพื่ออนุญาตให้ฐานข้อมูลสามารถทำงานร่วมกับฐานข้อมูลแบบอื่นๆ ได้
ฐานข้อมูล ประกอบด้วยกลุ่มการจัดการข้อมูลสำหรับผู้ใช้หนึ่งคนหรือหลายๆ คน โดยทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบดิจิทัล วิธีการแบ่งชนิดของฐานข้อมูลได้รูปแบบหนึ่งคือแบ่งตามชนิดของเนื้อหา เช่น บรรณานุกรม, เอกสารตัวอักษร, สถิติ โดยฐานข้อมูลดิจิทัลจะถูกจัดการโดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลซึ่งเก็บเนื้อหาฐานข้อมูล โดยอนุญาตให้สร้าง, ดูแลรักษา, ค้นหา และการเข้าถึงในรูปแบบอื่นๆ

ประวัติ
       ฐานข้อมูลในลักษณะที่คล้ายกับฐานข้อมูลสมัยใหม่ ถูกพัฒนาเป็นครั้งแรกในทศวรรษ 1960 ซึ่งผู้บุกเบิกในสาขานี้คือ ชาลส์ บากแมน แบบจำลองข้อมูลสำคัญสองแบบเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ซึ่งเริ่มต้นด้วย แบบจำลองข่ายงาน (พัฒนาโดย CODASYL) และตามด้วยแบบจำลองเชิงลำดับชั้น (นำไปปฏิบัติใน IMS) แบบจำลองทั้งสองแบบนี้ ในภายหลังถูกแทนที่ด้วย แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ ซึ่งอยู่ร่วมสมัยกับแบบจำลองอีกสองแบบ แบบจำลองแบบแรกเรียกกันว่า แบบจำลองแบนราบ ซึ่งออกแบบสำหรับงานที่มีขนาดเล็กมาก ๆ แบบจำลองร่วมสมัยกับแบบจำลองเชิงสัมพันธ์อีกแบบ คือ ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ หรือ โอโอดีบี3 (OODB)

       ในขณะที่แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีเซต ได้มีการเสนอแบบจำลองดัดแปลงซึ่งใช้ทฤษฎีเซตคลุมเครือ (ซึ่งมีพื้นฐานมาจากตรรกะคลุมเครือ) ขึ้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

      ปัจจุบันมีการกล่าวถึงมาตรฐานโครงสร้างฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลต่างระบบ ให้สืบค้นรวมกันเสมือนเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน และการสืบค้นต้องแสดงผลตรงตามคำถาม มาตรฐานดังกล่าวได้แก่ XML RDF Dublin Core Metadata เป็นต้น และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลรหว่างต่างหน่วยงานได้ดี คือการใช้ Taxonomy และ อรรถาภิธาน ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับจัดการความรู้ในลักษณะศัพท์ควบคุม เพื่อจำกัดความหมายของคำที่ใช้ได้หลายคำในความหมายเดียวกัน

การออกแบบฐานข้อมูล (Designing Databases)

การออกแบบฐานข้อมูล (Designing Databases) มีความสำคัญต่อการจัดการระบบฐานข้อมูล (DBMS) ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ภายในฐานข้อมูลจะต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล โครงสร้างของข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลและกระบวนการที่โปรแกรมประยุกต์จะเรียกใช้ฐานข้อมูล ดังนั้น เราจึงสามารถแบ่งวิธีการสร้างฐานข้อมูลได้ 3 ประเภท

       1. รูปแบบข้อมูลแบบลำดับขั้น หรือโครงสร้างแบบลำดับขั้น (Hierarchical data model) วิธีการสร้างฐาน ข้อมูลแบบลำดับขั้นถูกพัฒนาโดยบริษัท ไอบีเอ็ม จำกัด ในปี 1980 ได้รับความนิยมมาก ในการพัฒนาฐานข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยที่โครงสร้างข้อมูลจะสร้างรูปแบบเหมือนต้นไม้ โดยความสัมพันธ์เป็นแบบหนึ่งต่อหลาย (One- to -Many)

       2. รูปแบบข้อมูลแบบเครือข่าย (Network data Model) ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายมีความคล้ายคลึงกับฐาน ข้อมูลแบบลำดับชั้น ต่างกันที่โครงสร้างแบบเครือข่าย อาจจะมีการติดต่อหลายต่อหนึ่ง (Many-to-one) หรือ หลายต่อหลาย (Many-to-many) กล่าวคือลูก (Child) อาจมีพ่อแม่ (Parent) มากกว่าหนึ่ง สำหรับตัวอย่างฐานข้อมูลแบบเครือข่ายให้ลองพิจารณาการจัดการข้อมูลของห้องสมุด ซึ่งรายการจะประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง สำนักพิมพ์ ที่อยู่ ประเภท

       3. รูปแบบความสัมพันธ์ข้อมูล (Relation data model) เป็นลักษณะการออกแบบฐานข้อมูลโดยจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปของตารางที่มีระบบคล้ายแฟ้ม โดยที่ข้อมูลแต่ละแถว (Row) ของตารางจะแทนเรคอร์ด (Record) ส่วน ข้อมูลนแนวดิ่งจะแทนคอลัมน์ (Column) ซึ่งเป็นขอบเขตของข้อมูล (Field) โดยที่ตารางแต่ละตารางที่สร้างขึ้นจะเป็นอิสระ ดังนั้นผู้ออกแบบฐานข้อมูลจะต้องมีการวางแผนถึงตารางข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ เช่นระบบฐานข้อมูลบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วย ตารางประวัติพนักงาน ตารางแผนกและตารางข้อมูลโครงการ แสดงประวัติพนักงาน ตารางแผนก และตารางข้อมูลโครงการ


การออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์

       การออกแบบฐานข้อมูลในองค์กรขนาดเล็กเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานอาจเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากนัก เนื่องจากระบบและขั้นตอนการทำงานภายในองค์กรไม่ซับซ้อน ปริมาณข้อมูลที่มีก็ไม่มาก และจำนวนผู้ใช้งานฐานข้อมูลก็มีเพียงไม่กี่คน หากทว่าในองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งมีระบบและขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน รวมทั้งมีปริมาณข้อมูลและผู้ใช้งานจำนวนมาก การออกแบบฐานข้อมูลจะเป็นเรื่องที่มีความละเอียดซับซ้อน และต้องใช้เวลาในการดำเนินการนานพอควรทีเดียว ทั้งนี้ ฐานข้อมูลที่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานภายในหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรได้ ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานขององค์กรมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เป็นผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลภายในองค์กรทั้งนี้ การออกแบบฐานข้อมูลที่นำซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูลมาช่วยในการดำเนินการ สามารถจำแนกหลักในการดำเนินการได้ 6 ขั้นตอน คือ

        1.การรวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการในการใช้ข้อมูล

        2.การเลือกระบบจัดการฐานข้อมูล

        3.การออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวคิด

        4.การนำฐานข้อมูลที่ออกแบบในระดับแนวคิดเข้าสู่ระบบจัดการฐานข้อมูล

        5.การออกแบบฐานข้อมูลในระดับกายภาพ

        6.การนำฐานข้อมูลไปใช้และการประเมินผล


การออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ

       การออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ หรือในระดับแนวความคิด เป็นขั้นตอนการออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในระบบโดยใช้แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ซึ่งอธิบายโดยใช้แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (E-R Diagram) จากแผนภาพ E-R Diagram นำมาสร้างเป็นตารางข้อมูล (Mapping E-R Diagram to Relation) และใช้ทฤษฏีการ Normalization เพื่อเป็นการรับประกันว่าข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกันน้อยที่สุด ซึ่งการออกแบบเชิงตรรกะนี้จะบอกถึงรายละเอียดของ Relation , Attribute และ Entity

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล (Database System)

 -สาระสำคัญ
             ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยที่จะไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลด้วย อีกทั้งข้อมูลในระบบก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะมีการกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลขึ้น
นับได้ว่าปัจจุบันเป็นยุคของสารสนเทศ เป็นที่ยอมรับกันว่า สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างเหมาะสม สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้งานด้านธุรกิจ การบริหาร และกิจการอื่น ๆ องค์กรที่มีข้อมูลปริมาณมาก ๆ จะพบความยุ่งยากลำบากในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำข้อมูลที่ต้องการออกมาใช้ให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ซึ่งทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้สะดวก ทั้งนี้โปรแกรมแต่ละโปรแกรมจะต้องสร้างวิธีควบคุมและจัดการกับข้อมูลขึ้นเอง ฐานข้อมูลจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล จึงต้องคำนึงถึงการควบคุมและการจัดการความถูกต้องตลอดจนประสิทธิภาพในการเรียกใช้ข้อมูลด้วย

-ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนำมาใช้ในระบบต่าง ๆ ร่วมกัน
ระบบฐานข้อมูล จึงนับว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลได้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการเพิ่ม การแก้ไข การลบ ตลอดจนการเรียกดูข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประยุกต์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล

-นิยามและคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
บิท (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)
เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น
ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วย
รหัสประจำตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล
แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน

-ส่วนในระบบฐานข้อมูล มีคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
เอนทิตี้ (Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดก็บข้อมูล
ไว้ เช่น เอนทิตี้ลูกค้า เอนทิตี้พนักงาน
- เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Weak Entity) เป็นเอนทิตี้ที่ไม่มีความหมาย หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล
แอททริบิวต์(Attribute) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ เช่เอนทิตี้นักศึกษาประกอบด้วย แอทริบิวต์รหัสนักศึกษา  แอททริบิวต์ชื่อนักศึกษาแอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา
ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้นักศึกษาและเอนทิตี้คณะวิชา เป็นลักษณะว่า นักศึกษาแต่ละคนเรียนอยู่คณะวิชาใดคณะวิชาหนึ่ง
ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เราจะใช้หัวลูกศรเพื่อแสดงความสัมพันธ์ ดังตัวอย่างในรูปต่อไปนี้
รูปที่ 1.1 คณะวิชา ß ----------à à นักศึกษา (คณะวิชามีความสัมพันธ์กับนักศึกษา)
ในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ จะกำหนดโดยใช้หัวลูกศร และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้นักศึกษาไปยังเอนทิตี้คณะวิชา อาจจะกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้
รูปที่ 1.2 คณะวิชา ----------------à นักศึกษา (นักศึกษาสังกัดอยู่คณะวิชา)
และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้คณะวิชาไปยังเอนทิตี้นักศึกษา อาจกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้
รูปที่ 1.3 คณะวิชา --------------à à นักศึกษา (คณะวิชาประกอบด้วยนักศึกษา)
จากรูปที่ 1.2 จะเห็นได้ว่า นักศึกษา 1 คนจะสามารถสังกัดอยู่ได้เพียง 1 คณะวิชา แต่จากรูปที่ 1.3 จะเห็นได้ว่า 1 คณะวิชาสามารถประกอบด้วยนักศึกษาหลาย ๆ คน
ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง (1 : 1)
2. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลหลาย ๆ ข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะ (1:m) ตัวอย่างเช่น
3. ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลสองเอนทิตี้ในลักษณะกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n)

      เอนทิตี้ใบสั่งซื้อแต่ละใบจะสามารถสั่งสินค้าได้มากกว่าหนึ่งชนิด ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้ใบสั่งซื้อไปยังเอนทิตี้สินค้า จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:m) ในขณะที่สินค้าแต่ละชนิด จะถูกสั่งอยู่ในใบสั่งซื้อหลายใบ ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้สินค้าไปยังอินทิตี้ใบสั่งซื้อ จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:n) ดังนั้นความสัมพันธ์ของเอนทิตี้ทั้งสอง จึงเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n)
จากคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงอาจให้นิยามของฐานข้อมูลในอีกลักษณะได้ว่า “ฐานข้อมูล” อาจหมายถึง โครงสร้างสารสนเทศ ที่ประกอบด้วยหลาย ๆ เอนทิตี้ที่มีความสัมพันธ์กัน


ความสำคัญของการประมวลผลแบบระบบฐานข้อมูล
จากการจัดเก็บข้อมูลรวมเป็นฐานข้อมูลจะก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
1. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Redundancy) ดังนั้นการนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะชาวยลดปัญหาการเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ โดยระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) จะช่วยควบคุมความซ้ำซ้อนได้ เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลจะทราบได้ตลอดเวลาว่ามีข้อมูลซ้ำซ้อนกันอยู่ที่ใดบ้าง
2. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้
หากมีการเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่และมีการปรับปรุงข้อมูลเดียวกันนี้ แต่ปรับปรุงไม่ครบทุกที่ที่มีข้อมูลเก็บอยู่ก็จะทำให้เกิดปัญหาข้อมูลชนิดเดียวกัน อาจมีค่าไม่เหมือนกันในแต่ละที่ที่เก็บข้อมูลอยู่ จึงก่อใให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลขึ้น (Inconsistency)
3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
ฐานข้อมูลจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลต่างๆ ก็จะทำได้โดยง่าย
4. สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
บางครั้งพบว่าการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น จากการที่ผู้ป้อนข้อมูลป้อนข้อมูลผิดพลาดคือป้อนจากตัวเลขหนึ่งไปเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีมีผู้ใช้หลายคนต้องใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลร่วมกัน หากผู้ใช้คนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลผิดพลาดก็ทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบตามไปด้วย ในระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) จะสามารถใส่กฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่เกดขึ้น
5. สามารถกำหนดความป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้
การเก็บข้อมูลร่วมกันไว้ในฐานข้อมูลจะทำให้สามารถกำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้รวมทั้งมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันได้ เช่นการกำหนดรูปแบบการเขียนวันที่ ในลักษณะ วัน/เดือน/ปี หรือ ปี/เดือน/วัน ทั้งนี้จะมีผู้ที่คอยบริหารฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่างๆ
6. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้
ระบบความปลอดภัยในที่นี้ เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิมาใช้ หรือมาเห็นข้อมูลบางอย่างในระบบ ผู้บริหารฐานข้อมูลจะสามารถกำหนดระดับการเรียกใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ตามความเหมาะสม
7. เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล
ในระบบฐานข้อมูลจะมีตัวจัดการฐานข้อมูลที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล โปรแกรมต่าง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลทุกครั้ง ดังนั้นการแก้ไขข้อมูลบางครั้ง จึงอาจกระทำเฉพาะกับโปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ส่วนโปรแกรมที่ไม่ได้เรียกใช้ข้อมูลดังกล่าว ก็จะเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลง


รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)
เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ดังตัวอย่าง
พนักงาน

รหัสพนักงาน

ชื่อพนักงาน

ที่อยู่

เงินเดือน

รหัสแผนก

12501535
12534568
12503452
12356892

15689730

นายสมพงศ์
นายมนตรี
นายเอก
นายบรรทัด

นายราชัน

กรุงเทพ
นครปฐม
กรุงเทพ
นนทบุรี

สมุทรปราการ

12000
12500
13500
11500

12000

VO
VN
VO
VD

VA


รูปแสดงตารางพนักงาน

2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
3. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database)
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน 1 หัวลูกศร

โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นโปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลหรือรายการต่าง ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การเรียกใช้ การปรับปรุงข้อมูล
โปรแกรมฐานข้อมูล จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมฐานข้อมมูลที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น Access, FoxPro, Clipper, dBase, FoxBase, Oracle, SQL เป็นต้น โดยแต่ละโปรแกรมจะมีความสามารถต่างกัน บางโปรแกรมใช้ง่ายแต่จะจำกัดขอบเขตการใช้งาน บ่งโปรแกรมใช้งานยากกว่า แต่จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า
โปรแกรม Access นับเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้ โดยเฉพาะในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถสร้างแบบฟอร์มที่ต้องการจะเรียกดูข้อมูลในฐานข้อมูล หลังจากบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะสามารถค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลจากเขตข้อมูลใดก็ได้ นอกจากนี้ Access ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้ด้วย
โปรแกรม FoxPro เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เนื่องจากใช้ง่ายทั้งวิธีการเรียกจากเมนูของ FoxPro และประยุกต์โปรแกรมขึ้นใช้งาน โปรแกรมที่เขียนด้วย FoxPro จะสามารถใช้กลับ dBase คำสั่งและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ใน dBase จะสามารถใช้งานบน FoxPro ได้ นอกจากนี้ใน FoxPro ยังมีเครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรม เช่น การสร้างรายงาน
โปรแกรม dBase เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง การใช้งานจะคล้ายกับโปรแกรม FoxPro ข้อมูลรายงานที่อยู่ในไฟล์บน dBase จะสามารถส่งไปประมวลผลในโปรแกรม Word Processor ได้ และแม้แต่ Excel ก็สามารถอ่านไฟล์ .DBF ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรม dBase ได้ด้วย

โปรแกรม SQL เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพการทำงานสูง สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้โดยใช้คำสั่งเพียงไม่กี่คำสั่ง โปรแกรม SQL จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และเป็นภาษาหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันมาก โดยทั่วไปโปรแกรมฐานข้อมูลของบริษัทต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Oracle, DB2 ก็มักจะมีคำสั่ง SQL ที่ต่างจากมาตรฐานไปบ้างเพื่อให้เป็นจุดเด่นของแต่ละโปรแกรมไป