วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สุนัขพันธุ์ชิวาว่า(Chihuahua)!!!


 "เล็กใหญ่ไม่เกี่ยว มันอยู่ที่ใจ"…คำพูดนี้อย่าตีความหมายเป็นอย่างอื่น มันเป็นการยืนยันความรักของ "ชิวาว่า" สุนัข ที่หลายคนรู้จักมักคุ้นว่า "หมากระเป๋า" ที่มีให้กับนายของมัน

          หลายๆ คนลงความเห็นว่า สุนัข ชิวาวา มีนิสัยที่ค่อนข้างติดเจ้าของและไม่ทำลายข้าว ขี้ประจบมาก อ้อน บางครั้งก็เป็น สุนัข ที่หยิ่งในตัว ถ้าไม่ใช่เจ้าของจะไม่ให้จับต้อง ปากเปราะเห่าเสียงดังเหมือน สุนัข พันธุ์เล็กตัวอื่นๆ ทำให้ สุนัขพันธุ์ชิวาว่า เหมาะที่จะเลี้ยงไว้สำหรับเป็นเพื่อนมากกว่าหมาเฝ้าบ้าน

          สุนัข ชิวาว่า เพศผู้อายุ 1 ปี จะเริ่มเป็นสัดซึ่งเร็วกว่าเพศเมีย เริ่มเหล่หนุ่มตอนช่วงอายุ 18 เดือน หลังจากผสมพันธุ์แล้วตกลูกเต็มที่ 1-3 ตัว น้ำหนักตั้งท้องจะมีขนาด 2 กิโลกว่า ลูกสุนัข มีน้ำหนัก 1 ขีด ไม่เกิน 2 ขีด มีขนาดเล็กมาก แรกเพิ่งคลอดต้องคอยดูแลให้ สุนัข กินนมแม่ ซึ่งช่วงนี้ควรระวังเรื่องโรคต่างๆ

          พออายุราวเดือนครึ่ง ควรเริ่มฝึกให้ สุนัข ชิวาว่า กินอาหารเม็ดด้วยการแช่น้ำให้นิ่ม หรือผสมนมแพะเล็กน้อย หรือให้ อาหารเหลวสำหรับ ลูกสุนัข เป็นการฝึกให้สุนัขเลียหรือกินอาหารได้เอง

          สีสันกลายเป็นข้อแบ่งเกรดและราคาของ สุนัขพันธุ์ชิวาว่า สีตามมาตรฐานสายพันธุ์ก็คือน้ำตาล แต่บรีด (ผสม) กันไปบรีดกันมา จนเกิดสีหลากหลาย เช่น สีซอค สีดำ สีน้ำตาล สีทั่วไปอย่างที่เห็น เป็นสีขาว ดำ สีแฟนซี

          ส่วนรูปร่างลักษณะที่เป็น สุนัขพันธุ์ชิวาว่า ที่ดีสมบูรณ์แบบ หัวหรือกะโหลกศีรษะต้องกลม หน้าจะต้องสั้น ส่วนเรื่องลำตัวจะยาวหรือไม่แค่ไหนนั้นแล้วแต่ตัว สุนัข ขาต้องไม่ยาว ควรอยู่ในสัดส่วนที่พอดี ดูแล้วเป็นทรงสี่เหลี่ยม เมื่อมองจากลำตัวที่ตัดจากลำคอไปถึงหาง การเดินต้องเดินเตะเหมือนม้า วิ่งเหยาะๆ คล่องแคล่ว มีนิสัยที่ปราดเปรียว กระโดดโลดเต้น ชื่นชอบการออกกำลังกาย

          เมื่อ สุนัขพันธุ์ชิวาว่าโตเต็มวัยน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 1.8-2.7 กก. ซึ่งที่ฟาร์มจะบรีดได้เล็กสุดอยู่ที่น้ำหนัก 1.5 กก. แม้ว่ามันจะได้ชื่อว่าเป็น สุนัขที่ตัวเล็กที่สุดในโลกแล้วก็ตาม ปัจจุบันก็ยังมีคนผสมดูแลให้ ชิวาวา เล็กจิ๋วลงไปอีก และ ทำได้อย่างไม่น่าเชื่อ!!..

          แม้ว่าหมากระเป๋าจะตัวเล็ก แต่อายุโดยเฉลี่ยของ สุนัขพันธุ์ชิวาว่า อยู่ที่ 15 ปี ซึ่งเท่ากับ สุนัข สายพันธุ์อื่นๆ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลที่ต้องระวังเป็นพิเศษ…ทั้งสุขอนามัยและอย่าให้โรคภัยเบียดเบียน

          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น